Histamine Test เป็นวิธีการตรวจการเปลี่ยนสีโดยเอนไซม์ ซึ่งสามารถบอกค่าของสารฮิสตามีนออกมาเป็นตัวเลข ทั้งในปลาดิบ ปลาแช่แข็ง หรือปลาทูน่ากระป๋อง
Histamine Test 61341 การตรวจสารฮิสตามีน
ลักษณะเด่น
- ใช้งานง่าย
- วิธีการใช้ทำได้ง่ายไม่ซับซ้อน ด้วยเอนไซม์ชนิดพิเศษ เพียงละลายสารแล้วผสมลงในตัวอย่าง ปลอดสารพิษไม่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับสารเคมีอันตราย
- รวดเร็ว
- สารทำปฏิกิริยาเสร็จสิ้นภายใน 15 นาที สำหรับปลาดิบใช้เวลาตั้งแต่เริ่มเตรียมตัวอย่างจนเสร็จ ทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง
- แม่นยำ
- ได้รับการรับรองจาก AOAC-RI PTM ให้ผลเที่ยงตรงแม่นยำเมื่อเทียบเคียงกับวิธีการวิเคราะห์มาตรฐานสากล
จำนวนครั้งที่วิเคราะห์ได้ต่อกล่อง | 60 ครั้ง |
---|---|
ส่วนประกอบ |
เอนไซม์ (lyophilisate) จำนวน 6 ขวด น้ำยาให้สี (lyophilisate) จำนวน 6 ขวด Histamine Standard solution x 1 Buffer x 3 |
วิธีการเก็บรักษา | 2-8 ℃ |
วันหมดอายุ | สิ้นเดือนของเดือนที่ 31 นับจากวันผลิต |
คำเตือน
- ชุดทดสอบนี้ออกแบบมาให้ใช้เพื่อการตรวจสอบหรือการวิจัยเท่านั้น
- นอกจากสารที่ให้มาพร้อมกับชุดทดสอบแล้ว จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์และสารอื่นๆร่วมด้วย เช่น ไมโครปิเปต, EDTA, เครื่องอ่านค่าการดูดซับแสงฯลฯ
- สารฮิสตามีนมักจะยึดเกาะกับผิวของวัสดุที่ทำมาจากแก้ว ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้เตรียมตัวอย่างจึงควรทำจากพลาสติก หรือวัสดุใกล้เคียงกับพลาสติก
- ชุดทดสอบนี้เป็นชุดทดสอบที่สามารถวิเคราะห์ปริมาณสารฮิสตามีนในปลาดิบ และสามารถตรวจอาหารอื่นได้เมื่อมีการเตรียมตัวอย่าง อย่างเหมาะสม
รางวัลและการยอมรับ
* ได้รางวัล Technical Achievement Award ในงาน Fisheries Science from the Japanese Society of Fisheries Science.(2007)
*ได้รางวัล Japan Soy Sauce Technology Award โดยสมาคมซอสถั่วเหลืองแห่งประเทศญี่ปุ่น (2014)
*ได้รับการรับรอบประสิทธิภาพการตรวจวัดสารฮิสตามีนจาก AOAC Performance Tested Method(PTM).
เครื่องสเปคโตรมิเตอร์แนะนำ
ท่านสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่เราแนะนำนี้ หรือสเปคโตรมิเตอร์ทั่วไปอื่นๆที่สามารถวัดการดูดซับแสงในช่วงที่กำหนดไว้ ได้ตามต้องการ
Absorptiometer RGB (Model DPM2-ABS)
⇒ คลิกเพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของ Kyoritsu Chemical-Check Lab., Corp.
หากสนใจเครื่องสเปคโตรมิเตอร์ดังกล่าวสามารถติดต่อ:
Kyoritsu Chemical-Check Lab., Corp.
E-mail : eng@kyoritsu-lab.co.jp
Phone : +81-3-3721-9207